ข้าราชการ
407,931
รวมจำนวนข้าราชการพลเรือน
ตำแหน่งข้าราชการ
470,995
รวมจำนวนตำแหน่งข้าราชการ
หน่วยงานระดับกรม
154
จำนวนส่วนราชการระดับกรม
สรุปข้อมูลตามเงื่อนไข
N/A
สรุปผลข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด
การจัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์ มีความมุ่งหมายเพื่อรวบรวมข้อมูลประวัติของข้าราชการ เอกสารหลักฐานและรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวข้าราชการในการรับราชการ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการและภาครัฐ และเป็นการกำหนดให้มีทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดวิธีการใช้ประโยชน์ทะเบียนประวัติข้าราชการอิเล็กทรอนิกส์มีรูปแบบการออกรายงานข้อมูลตามระเบียบแบบแผนและมาตรฐานอย่างเดียวกัน ซึ่งการออกรายงานข้อมูลจากโปรแกรมบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ก.พ. จะต้องมีการลงนามรับรองโดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ
สมรรถนะหลักทางการบริหารของนักบริหารระดับสูง
สมรรถนะหลักทางการบริหารที่ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือก เพื่อแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 จะต้องเข้ารับการประเมิน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม 12 ด้าน ดังนี้
1.ความรอบรู้ในการบริหาร (Business Acumen)
1.1 การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Managing Change) การริเริ่มเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรเพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ การให้การสนับสนุนผู้อื่นในองค์กรให้นำความคิดริเริ่มที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรมาปฏิบัติให้เป็นผลสำเร็จ โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนด้านการกำหนดขอบเขต ขั้นตอน และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเปลี่ยนแปลง
1.2 การมีจิตมุ่งบริการ (Customer Service Orientation) ความมุ่งมั่นในการให้บริการ ช่วยเหลือเสริมสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ โดยมุ่งหาความต้องการของผู้รับบริการ กำหนดเป้าหมาย แนวทางการปฏิบัติงานที่สอดคล้องสนองความต้องการของผู้รับบริการในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
1.3 การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) สร้างแผนการปฏิบัติงานที่มีการระบุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นการวางแผนเชิงกลยุทธ์และในระดับปฏิบัติการ โดยพิจารณาเงื่อนไขของเวลา ทรัพยากร ความสำคัญเร่งด่วน และการคาดการณ์ถึงปัญหาและโอกาสที่อาจเป็นไปได้ด้วย
2. การบริหารอย่างมืออาชีพ (Professional Management)
2.1 การตัดสินใจ (Decision Making) การเลือกดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยพิจารณาจากข้อมูล โอกาส ปัญหา ประเมินทางเลือกและผลลัพธ์ เพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุดในสถานการณ์นั้น ๆ ในเวลาที่เหมาะสม ตลอดจนวิเคราะห์แยกแยะ ระบุประเด็นของปัญหาและตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและ ทันต่อเหตุการณ์
2.2 การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) การระบุ กำหนดขอบข่ายและวิเคราะห์ปัญหา สถานการณ์ โดยใช้หลักเหตุผลและประสบการณ์ประกอบกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปการตัดสินใจ แนวทางปฏิบัติและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม อีกทั้งทำให้เห็นศักยภาพและแนวทางใหม่ ๆ
2.3 ความเป็นผู้นำ (Leadership) การสร้างและประชาสัมพันธ์วิสัยทัศน์ขององค์กร โน้มน้าวผู้อื่นให้ยอมรับและมุ่งสู่วิสัยทัศน์ขององค์กร ให้การสนับสนุนผู้อื่นทั้งในด้านการให้คำแนะนำ และการให้อำนาจสามารถเจริญก้าวหน้าอย่างมืออาชีพ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทั้งในระดับบุคคล ทีมงานและระดับองค์กรในด้านทัศนคติ การปฏิบัติงานและการตัดสินใจ
3. การบริหารคน (Human Resource Management)
3.1 การปรับตัวและความยืดหยุ่น (Adaptability and Flexibility) การปรับตัวหรือการเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานให้เข้ากับทุกสถานการณ์ บุคคล หรือ กลุ่ม ตามความต้องการของงานหรือองค์กร สามารถทำความเข้าใจและรับฟังข้อความคิดเห็นในมุมมองที่แตกต่างกัน
3.2 ความสามารถและทักษะในการสื่อสาร (Communication) ทักษะและศิลปะในการรับรู้และจับประเด็นจากการฟังและการอ่าน ตลอดจนทักษะในการถ่ายทอดความคิดและโน้มน้าวผู้ฟังและผู้อ่าน โดยการพูด การเขียน และการนำเสนอ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการและได้รับการสนับสนุนเห็นด้วยอย่างชัดเจน
3.3 การประสานสัมพันธ์ (Collaborativeness) การทำงานร่วมกับบุคคลอื่นที่เอื้อต่อการทำงานในองค์กร โดยสร้างความเคารพ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน
4. การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result-based Management)
4.1 การรับผิดชอบตรวจสอบได้ (Accountability) สำนึกในบทบาทหน้าที่ มุ่งมั่น ตั้งใจ เพื่อปฏิบัติงานตามการตัดสินใจให้บรรลุเป้าหมาย และปฏิบัติตามข้อยืนยัน ที่ให้กับผู้อื่น ในขณะเดียวกันมีความพร้อมให้ตรวจสอบและพร้อมรับผิดชอบในผลการกระทำและการตัดสินใจ
4.2 การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ (Achieving Result) การบริหารการปฏิบัติงานให้ได้ผลสำเร็จทันการณ์ตามแผนและเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้ผลผลิตและการบริหารที่ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ที่เกี่ยวข้อง (Stakeholders) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4.3 การบริหารทรัพยากร (Managing Resources) ความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกองค์การ (บุคลากร ข้อมูล เทคโนโลยี เวลา และทรัพยากรต้นทุนอื่น ๆ) มีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กร กลุ่มและบุคคล โดยสามารถสอดรับกับความจำเป็นของการดำเนินการตามนโยบาย



ประเภทกำลังคนคุณภาพ | คำธิบาย |
นักเรียนทุนรัฐบาล (ทุน ก.พ.) | บุคคลทั่วไป หรือข้าราชการที่ได้รับการสอบแข่งขัน และได้รับการคัดเลือกให้ได้รับทุนรัฐบาลเพื่อศึกษาต่อในสาขาวิชาที่มีความจำเป็น และเป็นที่ต้องการเพื่อส่งเสริมภารกิจที่สำคัญต่าง ๆ ของรัฐ โดยกลุ่มกำลังคนคุณภาพดังกล่าวจะกลับมารับราชการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ |
ผู้นำคลื่นลูกใหม่ในระบบราชการไทย | กลุ่มข้าราชการผู้มีศัยกภาพสูงของหน่วยงาน ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษหรือเทียบเท่า ที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้ารับการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตำแหน่งประเภทอำนายการในอนาคต และสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบราชการไทย โดยมีคุณลักษณะในการเป็นผู้นำที่ ซ่อมได้ สร้างได้ โดยมีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ กล้าเปลี่ยนแปลง และปรับเปลี่ยนตนเองให้เหมาะสมกับแต่ละบริบทได้อย่างรวดเร็ว |
ข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง | ข้าราชการที่มีผลการปฏิบัติราชการ และศักยภาพที่โดดเด่น ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ถึง ชำนาญการ ที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าสู่ระบบการพัฒนาที่เข้มเข้น และการวางกรอบการสั่งสมประสบการณ์อย่างเป็นระบบ เพื่อสามารถเติบโตไปสู่ระดับชำนาญการพิเศษ โดยมีคุณลักษณะที่เป็น คนที่ใช่ของส่วนราชการ คนที่ ชอบทำงานท้าทาย และคนที่ ช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จ |
นักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ (นปร.) | บุคคลทั่วไป หรือข้าราชการที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อรับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะจากการได้รับการสอนงานเพื่อถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรที่มากประสบการณ์ เช่นผู้บริหารสูงในหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้ข้าราชการในโครงการฯ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานภาครัฐที่มีความสามารถ โดยเป็นทั้งนักคิดที่มีวิสัยทัศน์ (Visionary Thinker) นักพัฒนาและวางแผน (Developer & Planner) และนักปฏิบัติ (Operator) ได้อย่างสมดุล |
นักยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปประเทศเชิงบูรณาการ | ข้าราชการที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อปฏิบัติงานในโจทย์ที่มีความท้าทายระดับประเทศ และสอดคล้องต่อเป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติของส่วนราชการเจ้าภาพโจทย์ เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีคุณลักษณะในการเป็นนักยุทธศาสตร์ที่สามารถขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสามารถบูรณาการเครือข่ายการทำงานในภาครัฐเพื่อเร่งแก้ไขปัญหา และขับเคลื่อนการพัฒนาได้อย่างเป็นที่ประจักษ์ |
หลักสูตรการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) | ผู้บริหารส่วนราชการที่ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาที่เข้มข้น ซึ่งครอบคลุมแนวทางการพัฒนางานด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ในประเด็นปัญหาสำคัญต่าง ๆ ของประเทศ โดยจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อบูรณาการการแก้ไขปัญหาในทุกระดับ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ตามกฎระเบียบเพื่อความโปร่งใส และทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง |